ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2559 นายจ้าง/ผู้ประกันตน ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น

          ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีการกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะได้รวดเร็ว ประหยัด และสะดวก โดยให้หน่วยงานภาครัฐยกระดับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และสร้างเครือข่ายตัวแทนภาครัฐในการให้บริการประชาชน สำนักงานประกันสังคมได้ตระหนักถึงนโยบายรัฐบาลโดยเพิ่มช่องทางให้นายจ้างและผู้ประกันตนสามารถใช้บริการชำระเงินสมทบผ่านระบบธนาคารและหน่วยบริการที่เป็นตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม แทนการชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้น และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 เห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยเข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร

          ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนายจ้าง ผู้ประกันตน และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา สำนักงานประกันสังคมจึงมีนโยบายให้นายจ้าง ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบผ่านระบบธนาคารและหน่วยบริการที่เป็นตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม แทนการชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป โดยนายจ้างและผู้ประกันตนสามารถเลือกช่องทางการชำระเงินได้ ดังนี้


กรณีนายจ้างกองทุนประกันสังคม

  1. ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร มีธนาคารที่ให้บริการ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) มีขั้นตอนการชำระเงิน ดังนี้
    • นายจ้างกรอกใบชำระเงินประกันสังคม (สำหรับสถานประกอบการ) ที่เคาน์เตอร์ธนาคารซึ่งจัดพิมพ์ไว้สำหรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเท่านั้น
    • ยื่นใบชำระเงินประกันสังคมพร้อมแบบรายการส่งเงินสมทบหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    • ชำระเงินได้ด้วยเงินสด/เช็ค
    • รับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที ทั้งนี้ กรณีชำระเงินเป็นเช็ค ใบเสร็จรับเงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว
  2. ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกกันว่าระบบ e-payment นายจ้างชำระได้เฉพาะเงินสมทบ เมื่อชำระเงินแล้วธนาคารจะออกใบเสร็จรับเงินส่งให้นายจ้างทางไปรษณีย์ มีธนาคารให้บริการ 7 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารซิตี้แบงก์, ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีขั้นตอนการชำระเงิน ดังนี้
    1. นายจ้างติดต่อลงทะเบียนเพื่อขอนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทาง www.sso.go.th
    2. ติดต่อเพื่อเปิดบัญชีเงินฝากและสมัครชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์กับธนาคารที่ให้บริการชำระเงินกองทุนประกันสังคม
    3. เมื่อทำรายการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วธนาคารจะออกใบเสร็จรับเงินส่งให้นายจ้างทางไปรษณีย์
กรณีนายจ้างกองทุนเงินทดแทน
  1. เคาน์เตอร์ธนาคาร (Bill Payment) ชำระได้เฉพาะเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น มีธนาคารที่ให้บริการ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    1. ขั้นตอนการชำระเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
    2. กรณีนายจ้างได้รับใบแจ้งเงินสมทบแบบมี Barcode ที่มีใบชำระเงินกองทุนเงินทดแทน (Pay-in) ต่อท้ายใบแจ้งเงินสมทบฯ ให้นายจ้างกรอกข้อมูลว่าชำระด้วยเงินสดหรือเช็คในใบชำระเงินฯ สำหรับกรณีที่ใบแจ้งเงินสมทบไม่มีใบชำระเงินกองทุนเงินทดแทน (Pay-in) ต่อท้ายใบแจ้งเงินสมทบ ให้นายจ้างกรอกรายละเอียดใบชำระเงินฯ ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งธนาคารได้จัดพิมพ์ไว้สำหรับชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
    3. ยื่นใบชำระเงินกองทุนเงินทดแทนให้เจ้าหน้าที่ธนาคารพร้อมสำเนาใบประเมินเงินสมทบประจำปี หรือใบแจ้งเงินสมทบจากการตรวจบัญชีประจำปี หรือใบแจ้งเงินฝาก แล้วแต่กรณี
    4. ชำระเงินได้ด้วยเงินสด/เช็ค
    5. รับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที ทังนี้ กรณีชำระเงินเป็นเช็คใบเสร็จรับเงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเรียกเก็บเงินตามเช็นได้แล้ว
  2. ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส  ชำระเป็นเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามใบแจ้งประเมินเงินสมทบแบบมี Barcode ได้ที่เราน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและร้านค้าที่มีสัญลักษณ์  มีขั้นตอนการชำระเงิน ดังนี้
    1. นายจ้างยื่นใบแจ้งเงินสมทบแบบมี Barcode
    2. ชำระเงินสดที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสและรับใบเสร็จรับเงินทันที
กรณีผู้ประกันตนตามมาตร 39 
  1. ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (Bill Payment) ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามรถชำระเงินสมทบและเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ (เฉพาะงวดเดือนปัจจุบันและงวดย้อนหลังไม่เกิน 1 งวดเดือน) ธนาคารจะออกใบเสร็จรับเงินให้ทันที มีธนาคารที่ให้บริการ 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    1. ขั้นตอนการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ดังนี้
    2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กรอกใบชำระเงินประกันสังคม (สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39) ที่เคสน์เตอร์ธนาคาร ซึ่งจัพิมพ์ไว้สำหรับใช้ชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเท่านั้น
    3. ยื่นไบชำระเงินประกันสังคมพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
    4. ชำระเงินได้ด้วยเงินสด/เช็ค
    5. รับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที ทั้งนี้ กรณีชำระเงินเป็นเช็ค ใบเสร็จรับเงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว
  2. หักเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนมาตรา 39 มีธนาคารที่ให้บริการ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุง จำกัด (มหาชน, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    1. ขั้นตอนการชำระเงินด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
    2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 กรอกแบบคำขอส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 ด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ยื่นเอกสาร ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ขึ้นทะเบียนไว้
    3. ผู้ประกันตนนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้เพียงพอสำหรับเป็นเงินสมทบและค่าธรรมเนียมธนาคาร ก่อนวันที่ 15 ของเดือนที่ธนาคารจะหักบัญชี
    4. ทุกวันที่ 15 ของเดือน ธนาคารจะดำเนินการหักบัญชีเงินฝากของผู้ประกันตนมาตรา 39
    5. ธนาคารออกใบเสร็จรับเงินและจัดส่งให้กับผู้ประกันตนทางไปรษณีย์
  3. ฝ่านที่ทำการไปรษณีย์ด้วยระบบ Pay at Post ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมายได้ด้วยเงินสด (ชำระได้เฉพาะงวดเดือนปัจจุบันและงวดย้อนหลังไม่เกิน 1 งวดเดือน)
    1. ขั้นตอนการชำระเงินสมทบผ่านที่ทำการไปรษณีย์
    2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเงินสด
    3. รับใบเสร็จรับเงินทันที
  4. ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถชำระเงินสมทบและเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย (ชำระได้เฉพาะงวดเดือนปัจจุบันและงวดย้อนหลัง 1 งวดเดือนด้วยเงินสดเท่านั้น) ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์
    1. ขั้นตอนการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
    2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน
    3. ชำระเงินสดที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสและรับใบเสร็จรับเงินทันที
การชำระเงินของผู้ประกันตนมาตรา 40
  1. ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ผู้ประกันตนมาตรา 40 ชำระได้เฉพาะเงินสมทบงวดปัจจุบันและงวดล่วงหน้าไม่เกิน 12 งวด รวมเงินสมทบได้ไม่เกิน 13 งวดเดือนและเงินออมเพิ่มเติมงวดปัจจุบันเท่านั้น ชำระได้ด้วยเงินสดที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์
    1. ขันตอนการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
    2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนหรือสมุดประจำตัวผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่มี Bzrcode
    3. ชำระเงินสดที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสและรับใบเสร็จรับเงินทันที
  2. หักบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนมาตรา 40 ชำระได้เฉพาะเงินสมทบงวดปัจจุบันเท่านั้น มีธนาคารที่ให้บริการ 6 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    1. ขั้นตอนการชำระเงินด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
    2. ผู้ประกันตนนำสำเนาหนังสือยินยอมหักบัญชีเงินฝากธนาคารที่เจ้าที่ธนาคารได้รับรองลายมือชื่อในหนังสือยิมยอมฯ เรียบร้อยแล้ว มายื่น ณ สำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนได้ขึ้นทะเบียนไว้ เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบว่าจะเริ่มหักเงินได้ตั้งแต่งวดเดือนใด
    3. ผู้ประกันตนนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้เพียงพอสำหรับเป็นเงินสมทบและค่าธรรมเนียมธนาคาร ก่อนวันที่ 20 ของเดือนที่ธนาคารจะหักบัญชี
    4. ทุกวันที่ 20 ของเดือน ธนาคารจะหักเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ประกันตน
    5. ผู้ประกันตนขอรับใบเสร็จรับเงินได้ ณ สำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนได้ขึ้นทะเบียนไว้
  3. ผ่านเทสโก้โลตัส ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถชำระได้เฉพาะเงินสมทบงวดปัจจุบัน
    1. ขั้นตอนการชำระเงินผ่านเทสโก้โลตัส
    2. ยื่นสมุดประจำตัวผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่มี Bzrcode กำกับเท่านั้น
    3. ชำระเงินสดที่เทสโกโลตัสและรับใบเสร็จรับเงินทันที

--------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม 0-7566-8143

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปผลการดำเนินงาน ศบร.กระบี่ รอบเดือนตุลาคม 2567

    #ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานจังหวัดกระบี่ ดำเนินการให้บริการด้านแรงงานตามภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานที่สามารถดำเนินการ ณ จุด...