ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ กับ โรคปวดกล้ามเนื้อ

หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ
กับ
โ  ร  ค  ป  ว  ด  ก  ล้  า  ม  เ  นื้  อ 
อาการปวดตึงบ่า สะบัก ต้นคอ จนบางครั้งอาจทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท และเมื่อตื่นนอนแล้วก็ไม่สดชื่อ หรือมีอาการปวดศรีษะ ปวดกระบอกตา ตาพร่ามัว ซึ่งพัฒนามาจากอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณของโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

          สาเหตุที่สำคัญอันดับแรก คือ การใช้งานมัดกล้ามเนื้อเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ ทุกวัน เมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนเนื้อนี้เองที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

          ปกติถ้าเราทำอะไรแล้วเมื่อย เมื่อได้พักจนหายเมื่อยปัญหาก็จบแต่ถ้าเราจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันนานๆ เช่น คนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ กล้ามเนี้อหลังต้องใช้งานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อต้องหดเกร็ง 8 - 10 ชั่วโมง ทุกวัน และเมื่อกลับบ้านไปพักผ่อน รุ่งเช้ามาก็ต้องนั่งทำงานท่าเดิมอีก กล้ามเนื้อชุดเดิมก็มีการหดเกร็งเข้าไปอีกทำอย่างนี้ไปเป็นปีๆ กล้ามเนื้อมัดเดิมมีปัญหาแน่ จากการที่เราเคยกลับไปนอนพักที่บ้านแล้วหายปวดหายเมื่อย 1 ปีผ่านไป นอนแล้วก็ไม่หายปวดเมื่อย เพราะกล้ามเนื้อจากที่เคยยืดหยุ่น มันไม่ยืด มันเกร็งสะสมอยู่อย่างนั้น

 
          การทำงาน ความเครียด หรือแม้แต่การใช้กล้ามเนื้อนายๆ เช่น การขับรถ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ซึ่งการเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมต่างๆ นั้นอาจทำได้ยาก แต่สิ่งที่ท่านผู้อ่านสามารถทำได้ คือ เมื่อทราบแล้วว่าสาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อมาจากการที่คุณใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ นานเกินไป แล้วใช้ไม่ถูกท่า ดังนี้

1. เลือกท่าที่เหมาะที่สุด เช่น นั่งแล้วสบายเพื่อจะได้ใช้กล้ามเนื้อได้นานโดยไม่เมื่อย

2. อย่าใช้กล้ามเนื้อต่อเนื่องกันนานเกินไป ถ้ามีอาชีพที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น 08.30 น. เริ่มเปิดเครื่อง กว่าจะลุกจากที่นั่ง 12.00 น. อย่างนี้ไม่ดี ให้เปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ เช่น เริ่มทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ 08.30 น. ผ่านไปสักชั่วโมง พอถึง 09.30 - 10.00 น. ก็ลุกไปเข้าห้องน้ำ ไปยืดกล้ามเนื้อ ให้กล้ามเนื้อได้พักบ้าง ยืดไหล่ บริหารคอเสียหน่อย เพื่อให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้ได้นาน

3. พักผ่านให้เพียงพอเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

4. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ นั่ง ยืนให้มีการยืดตัวเสมอๆ และออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่างน้อยตื่นเช้ามาต้องมีการแกว่างหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง ด้านหน้า 20 ครั้ง ด้านหลัง 20 ครั้ง เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ และสะบัก ป้องกันการเกิดพังผืด และหัวไหล่ติดยืด รวมถึงเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ทำกายและใจให้รู้สึกผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการนั่งที่ซ้ำๆ ต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ที่นั่งแล้วมีการยุบตัว เช่น โซฟา หรือเบาะรองนั่ง ฯลฯ



--------------------------------------------------------------------------------------------------
#ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานจังหวัดกระบี่
โทรศัพท์ 0-7566-8143

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานให้บริการประชาชน ณ จุดให้บริการงานศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่ โดย นา...